admin

Updated on พฤษภาคม 17, 2023

ความเครียดเรื้อรัง: ส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันอย่างไร

admin

Updated on พฤษภาคม 17, 2023

ความเครียดเรื้อรัง: ส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันอย่างไร

ประเด็นที่สำคัญ

  • ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของมนุษย์ที่มีต่อความท้าทาย รวมทั้งยังเป้นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
  • ความเครียดที่มีระยะเวลานานกว่าหนึ่งเดือนเป็นสัญญาณของความเครียดเรื้อรัง
  • ร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณอาจได้รับผลกระทบจากความเครียด
  • ความเครียดเป็นอุปสรรคใน ชีวิตประจำวันของเรา ส่งผลกระทบต่อเราในรูปแบบต่าง ๆ
  • กลยุทธ์ในการจัดการกับความเครียด อาจสามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้

วันหนึ่งในออฟฟิศ รุ่นพี่ของคุณอาจให้คุณส่งไฟล์โครงการซึ่งทำให้คุณอาจรู้สึกประหม่า หมดกำลังใจ สับสน และวิตกกังวลเพราะคุณจะทำงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

นี่คือการตอบสนองของร่างกายคุณต่อสถานการณ์นี้ ใช่ มันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณรู้สึกแบบนี้บ่อย ๆ สักระยะหนึ่งล่ะ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ ความเครียดเรื้อรัง.

มาให้เราช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าความเครียดคืออะไร และความเครียดจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร

ความเครียดคืออะไร

ความเครียดเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนเผชิญอยู่ ร่างกายมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้ได้รับประสบการณ์ และตอบสนองต่อความเครียด เมื่อคุณเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง หรือความท้าทาย ร่างกายของคุณจะตอบสนองทั้งทางร่างกาย และจิตใจ นั่นเรียกว่าความเครียด

ความเครียดในเชิงบวก สมมติว่าคุณมีการสอบที่กำลังจะมาถึง การตอบสนองต่อความเครียดในเชิงบวกอาจช่วยทำให้จิตใจ และร่างกายของคุณทำงานหนักขึ้น และตื่นตัวสำหรับอ่านหนังสือในช่วงดึก แต่ความเครียดนี้จะกลายเป็นปัญหาเมื่อคุณเริ่มเครียดกับทุกสถานการณ์ในทางลบ

ความเครียดเรื้อรังคืออะไร

ผลกระทบต่อร่างกาย จากความเครียดมักจะคงอยู่ไม่นาน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการเครียดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือยาวนานกว่านั้น นี่คือความเครียดเรื้อรัง

สมมติว่าบุคคลหนึ่งตกงานด้วยเหตุผลบางอย่าง หลังจากนั้น เขาเริ่มเครียดเรื่องการเงิน ครอบครัว และทุกด้านของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเงิน การคิดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาในตอนนี้สามารถทำให้เขาเครียดมากเกี่ยวกับสภาพการเงินนี้ได้

แทนที่จะหางานใหม่หรือสมัครงานใหม่ทำ เขากลับคิดมากกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเครียดมากเกินไป สิ่งนี้จะส่งผลต่ออารมณ์ และสภาพร่างกายโดยรวม และสุขภาพจิตของเขา นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบ้าน เพราะเขาอาจเก็บตัวอยู่ในบ้านด้วยความเสียใจ และไม่พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณในขณะที่คุณมีความเครียด?

ร่างกายของคุณมีระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS) ซึ่งเป็นระบบควบคุมเซลล์ประสาทในสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และอื่น ๆ เป็นระบบตอบสนองต่อความเครียดที่ถูกสร้างขึ้นมาในร่างกายเอง การตอบสนองด้วย "การต่อสู้ หรือการต่อต้าน" ช่วยทำให้ร่างกายของคุณเผชิญกับสภาวะที่ตึงเครียด

จิตใจของเราตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้อย่างชาญฉลาด คุณต้องฝึกตอบสนองต่อความเครียด

อาการทั่วไปของความเครียด

ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกาย และชีวิตประจำวันของคุณได้ในรูปแบบต่าง ๆ ความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกของคุณจะถูกรบกวนเนื่องจากความเครียด

ความเครียดที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจก่อให้เกิดโรคทางอ้อม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน

ความเครียดอาจส่งผลต่อ 3 อย่างดังต่อไปนี้:

1. ร่างกายของคุณ

ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้า ปวดท้อง ตื่นตระหนก อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ กล้ามเนื้อตึง ปวดไหล่ แรงขับทางเพศเปลี่ยน สั่น และตัวสั่น และปัญหาการนอนหลับเป็นผลทั่วไปของความเครียดในร่างกาย

2. อารมณ์ของคุณ

ความวิตกกังวล กระสับกระส่าย รู้สึกหนักใจ หงุดหงิด หรือโกรธ เศร้าหรือหดหู่ใจสุดขีด ขาดแรงจูงใจในการทำงาน กระวนกระวายใจ หวาดกลัวตลอดเวลาที่จะสูญเสียคนที่รัก หรือบางครั้งความคิดฆ่าตัวตายเป็นผลของความเครียดต่ออารมณ์ของคุณ

3. พฤติกรรมของคุณ

ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังมักทำผิดพลาดขณะจัดการกับความเครียด พวกเขาพยายามจัดการกับความเครียดด้วยพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป การไม่ สนใจในกิจกรรมต่าง ๆการอยู่บนโซเชียลมีเดีย และการช้อปปิ้งตลอดเวลา การระเบิดความโกรธ การพนัน การใช้ยา หรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด การสูบบุหรี่ การถอนตัวจากสังคม และการขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย

วิธีการวินิจฉัยความเครียด

ความเครียดเป็นเรื่องส่วนตัว คุณไม่สามารถวัด หรือทดสอบด้วยชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ เฉพาะผู้ที่กำลังประสบกับความเครียดอยู่เท่านั้นที่จะสามารถระบุว่ากำลังมีความเครียดอยู่ ระบุความรุนแรงของความเศร้า และความเครียดได้

แพทย์ หรือนักบำบัดอาจใช้แบบสอบถามเพื่อทำความเข้าใจสภาพของผู้ป่วย และผลกระทบของความเครียดส่งผลต่อชีวิตของบุคคลนั้นอย่างไร

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียด

เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อเกิดภาวะตึงเครียด สมมติว่าคุณเห็นงูพิษในบ้านของคุณช่วงตอนเย็น

ไฮโปทาลามัสของคุณจะตั้งสัญญาณเตือนในร่างกายของคุณ สิ่งนี้อาจไปกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตที่ด้านบนของไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และอะดรีนาลีน

อะดรีนาลีนจะไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทันที และเพิ่มความดันโลหิตของคุณ คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนความเครียดหลักที่เพิ่มกลูโคสในเลือด เพิ่มความสามารถของสมองในการใช้กลูโคสนี้ และทำงานตามนั้น คอร์ติซอลจะไม่มีความจำเป็นสำหรับสถานการณ์ต่อสู้ หรือหนี มันเปลี่ยนการ ตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้ถูกระงับ และสื่อสารกับสมองเพื่อควบคุมอารมณ์ แรงจูงใจ และความกลัว

เมื่อระบบควบคุมความเครียดตามธรรมชาติทำงานผิดปกติ คุณอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น:

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ปัญหาในการย่อยอาหาร
  • ความวิตกกังวล

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้วิธีที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรับมือกับความเครียดในชีวิตของคุณ

ความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร

ผลของความเครียดต่อกิจวัตรประจำวัน

หากคุณเครียดไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม และเริ่มคิดมาก นั่นอาจนำไปสู่การนอนหลับไม่เพียงพอซึ่งส่งผลให้คุณนอนหลังไม่เพียงพอ และทำให้เช้าวันรุ่งขึ้นของคุณมีความวุ่นวาย

คุณไม่สามารถให้ความสนใจกับสมาชิกในครอบครัวของคุณ และคุณอาจรู้สึกสูญเสีย บางครั้งผู้คนอาจลืมว่าพวกเขาวางบางอย่างไว้บนเตา หรือมีงานสำคัญที่ต้องทำ ความเครียดอาจส่งผลต่อการรับรู้ และความจำของคุณ

ผลของความเครียดต่อสุขภาพร่างกาย

ในขณะที่มีความเครียด บางคนอาจมีนิสัยรับประทานอาหารมากเกินไป และบางคนอาจไม่รับประทานอาหารอะไรเลย นิสัยทั้งสองอย่างนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณ

การรับประทานอาหารมากเกินไปอาจทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจทำให้อ้วนได้ การรับประทานอาหารน้อยอาจทำให้มีน้ำหนักผอมจนเกินไป และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคอ้วน

ผลกระทบของความเครียดต่อชีวิตการทำงาน

ความเครียดอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ คุณอาจรู้สึกสูญเสียขณะทำงาน หรือในการประชุม คุณอาจรู้สึกไม่มีแรงกระตุ้นในขณะทำงาน คุณไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาได้ นั่นอาจทำให้เจ้านายของคุณรู้สึกผิดหวังได้

ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเครียด หรือความเครียดเรื้อรัง

ผลกระทบของความเครียดต่อชีวิตส่วนตัว

ผู้ที่มีความเครียดอาจรู้สึกหลงทางในความคิดจนรู้สึกโดดเดี่ยว การคิดอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ไม่สนใจทำกิจกรรมใด ๆ และขัดขวางความคิด หรือความคิดใหม่ ๆ

พวกเขารู้สึกคิดลบ และจมอยู่กับความเศร้า สิ่งนี้อาจขัดขวางการเติบโตส่วนบุคคลของคุณ และเปลี่ยนบุคลิกภาพของคุณ

ผลของความเครียดต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว และเพื่อนฝูง

หากคุณรู้สึกเศร้า และเครียดจนไม่สามารถพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหามากมาย คุณอาจจะหงุดหงิด และโกรธคนที่คุณรัก

ในทางกลับกัน สมาชิกในครอบครัวของคุณอาจเครียดเกี่ยวกับคุณ

เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสภาวะเครียด

เหตุการณ์ที่ตึงเครียด คือ ความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต คุณไม่สามารถเปลี่ยนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่คุณสามารถใช้ขั้นตอนที่ดีในการจัดการสุขภาพจิตของคุณได้ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้

คุณต้องระบุเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และกำหนดกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นโดยการรักษาสุขภาพทางร่างกาย และ อารมณ์ ให้ดี.

กลยุทธ์ในการจัดการกับความเครียด

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เต้นซุมบ้า และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • โยคะ การหายใจเข้าลึก ๆ การนวด หรือการทำสมาธิล้วนเป็นตัวอย่างของเทคนิคช่วยในการผ่อนคลาย
  • จดบันทึก และเขียนความคิด หรือสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณในชีวิต
  • ควรให้ความสำคัญกับงานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือดูรายการโปรด หรือภาพยนตร์เรื่องโปรด
  • พัฒนามิตรภาพที่ดีต่อสุขภาพ สื่อสารกับเพื่อน และครอบครัว
  • มีอารมณ์ขัน รวมถึงมองหาวิธีที่จะนำอารมณ์ขัน และเสียงหัวเราะเข้ามาในชีวิต เช่น ดูหนังตลก หรือเข้าเว็บไซต์ตลก
  • มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน
  • จัดระเบียบ และจัดลำดับความสำคัญให้กับสิ่งที่คุณต้องทำที่บ้าน และที่ทำงาน รวมถึงกำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป
  • การขอคำปรึกษาจากมืออาชีพสามารถช่วยคุณพัฒนาเฉพาะด้านได้ กลยุทธ์การเผชิญปัญหา

สรุป

ความเครียดเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายของคุณ แต่ความเครียดเป็นเวลานาน คือ สภาวะของโรคที่ส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณ

แพทย์ของคุณอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อวินิจฉัยอาการของคุณ ความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ประสิทธิภาพการทำงาน สุขภาพร่างกาย ชีวิตส่วนตัว และครอบครัว

ฝึกโยคะ ทำสมาธิ และฝึกการหายใจเป็นประจำเพื่อลด ผลกระทบจากการคลายความเครียดดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างเหมือนกัน อย่าลังเลที่จะพูดคุย หรือเข้าพบแพทย์

Related Posts

ต่อสู้กับการอักเสบด้วยอาหารที่เหมาะสม
18th พ.ค.

ต่อสู้กับการอักเสบด้วยอาหารที่เหมาะสม

Read More
10 วิธีเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์
15th พ.ค.

10 วิธีเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์

Read More
ใช้ชีวิตอย่างฉลาด และคอยรักษาภูมิคุ้มกัน
18th พ.ค.

ใช้ชีวิตอย่างฉลาด และคอยรักษาภูมิคุ้มกัน

Read More