คุณเคยวิ่งอย่างเร็วมากเพื่อขึ้นรถเมล์ไปทำงานให้ทันเวลา แล้วรู้สึกว่าหัวใจของคุณเต้นเร็วผิดปกติหรือไม่?

คุณเคยตกงาน และรู้สึกว่าคุณเกิดความกลัวจนกว่าคุณจะหางานใหม่ได้หรือไม่?

หากคำตอบสำหรับคำถามทั้งสองข้อนี้ของคุณ คือ 'ใช่' แน่นอนว่าคุณสามารถรับรู้ความรู้สึกที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

คุณจะบอกว่าคุณรู้สึกเครียด หรือคุณจะบอกว่าคุณรู้สึกกระวนกระวายใจในขณะที่กำลังวิ่งขึ้นรถเมล์ให้ทัน หรือจนกว่าจะได้งานใหม่ใช่ไหม?

แล้วความเครียด กับความวิตกกังวลมีความแตกต่างกันหรือไม่ หรือว่าความรู้สึกทั้งสองอย่างนี้เหมือนกัน?

ถ้าอย่างนั้น เรามาสำรวจความแตกต่างกัน

ความเครียด กับความวิตกกังวล: เหรียญสองด้านเหมือนกันหรือไม่?

ความเครียด กับความวิตกกังวล มีความเกี่ยวข้องกันที่มีความน่าสนใจ

และความเครียด กับความวิตกกังวลยังมีความใกล้เคียงกันอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างความเครียด กับความวิตกกังวล

สาเหตุ:

ความเครียดอาจส่งผลดีหรือไม่ดีก็ได้

ความเครียดที่ดี (เครียดดี) เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพยายามทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา หรือการย้ายไปยังประเทศอื่น ความเครียดที่ไม่ดี (ความกังวล) เกิดจากปัจจัยที่มาก่อกวนจิตใจเพิ่มมากขึ้น เช่น การสูญเสียสมาชิกในครอบครัว หรือการเผชิญกับการถูกทำร้าย

ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ความเครียดจะมี 'ตัวสร้างความเครียด' เสมอ นั่นคือปัจจัยที่กระตุ้นให้ร่างกาย และจิตใจรู้สึกเครียด

ในทางกลับกัน ความวิตกกังวลอาจไม่มีตัวกระตุ้นที่สามารถระบุสาเหตุได้

แหล่งกำเนิด:

ความเครียดส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก (ตัวกระตุ้น/ตัวสร้างความเครียด) และถูกกำหนดให้เป็นความตึงเครียดทางร่างกาย หรือจิตใจที่รู้สึกได้จากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนั้น

ความวิตกกังวลเกิดจากความกลัวภายในจิตใจที่พัฒนาขึ้นมาจากตัวสร้างความเครียด ความวิตกกังวล คือ การตอบสนองที่ร่างกาย และจิตใจมอบให้กับความไม่แน่นอน และความสงสัยที่เรารู้สึกเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง

ความไม่แน่นอน หรือความสงสัยนี้สามารถถูกกระตุ้นขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีตัวกระตุ้นก็ตาม พันธุกรรม บุคลิกภาพ และเคมีในสมองยังอาจนำไปสู่ความวิตกกังวลในตัวบุคคลได้โดยไม่มีเหตุผลที่แน่นอน

ระยะเวลา:

หากได้รับการแก้ไขในเวลาที่เหมาะสม และไม่ปล่อยให้กลายเป็นภาวะเรื้อรัง ความเครียดมักจะหายไปเองได้ในระยะสั้น ๆ หลังจากที่ตัวสร้างความเครียด (ปัญหา) ได้รับการแก้ไขแล้ว

ความวิตกกังวลสามารถคงอยู่ได้เป็นเวลานาน แม้ว่าตัวกระตุ้น (ปัญหา) จะได้รับการแก้ไขแล้วก็ตาม มันสามารถเกิดขึ้น และกลายเป็นความผิดปกติได้

ความรู้สึก:

ความเครียดทำให้คนรู้สึกหนักใจ เหนื่อย หรือไม่สนใจที่จะทำอะไร

ความวิตกกังวลจะเพิ่มความรู้สึกกลัว และหวาดกลัวซึ่งจะทำให้บุคคลไม่สามารถลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ได้

ผลกระทบ:

ผลกระทบทางกายภาพของความเครียด ได้แก่ ปวดหัว ผมร่วง (ศีรษะล้าน) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

ผลกระทบทางจิตใจของความเครียด ได้แก่ นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า รู้สึกโกรธโดยไม่มีเหตุผล เศร้าใจ และขาดสมาธิ

หากปล่อยไว้นาน ความเครียดสามารถ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าวิตกกังวล หรือหมดไฟได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อร่างกายได้ซึ่งทำให้ร่างกายทรุดโทรม เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจวาย

สำหรับความวิตกกังวล หากปล่อยให้ยังคงมีอยู่ หรือหากไม่ตอบสนองต่อเทคนิคการจัดการกับความวิตกกังวล ความวิตกกังวล ภาวะเหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นความผิดปกติได้ เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป โรควิตกกังวลทางสังคม โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ) โรคตื่นตระหนก และโรคกลัวบางสิ่งบางอย่าง (กลัวมากเกินไป และไม่มีเหตุผล)

ความผิดปกติทางจิตใจเป็นหนึ่งในผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของความวิตกกังวลต่อเนื่องเป็นเวลานาน

อาการเครียด และวิตกกังวล

แม้ว่าทั้งความเครียด กับความวิตกกังวลจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ก็มีการแสดงอาการที่เหมือนกันบางอย่าง แต่ อาการ.

อาการเครียด ประกอบไปด้วย:

อาการวิตกกังวล ประกอบไปด้วย:

ความเครียด และความวิตกกังวลยังมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว และท้องเสีย หรือท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากบุคคลเริ่มแสดงอาการของการใช้สารเสพติด การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด การทำร้ายตนเอง และความคิดฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้ควรได้รับความสนใจ และการแทรกแซงจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาทันที

เคล็ดลับในการจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวล

ความเครียด และความวิตกกังวลสามารถแก้ไขได้ดีขึ้นเมื่อได้รับการจัดการ และ/หรือการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สิ่งที่สำคัญ คือ อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เปลี่ยนจากอาการเล็กน้อยไปเป็นภาวะที่รุนแรง

เมื่อความเครียด หรือวิตกกังวลรุนแรงขึ้น คุณจะต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหายาวนานขึ้น และทำให้เกิดการพัฒนาไปเป็นปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และแพทย์จำเป็นต้องเข้ามาทำการแทรกแซง

เราขอแนะนำให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากรู้สึกว่ามีความจำเป็น และก็ยังมีวิธีอื่น ๆ ในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ในขณะที่ยังมีอาการไม่รุนแรง สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากลไกการเผชิญปัญหา

กลไกการเผชิญปัญหาที่เป็นประโยชน์ในการจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวล

รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการ:

เคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กลางแจ้ง:

ฝึกฝนเทคนิคการผ่อนคลาย:

ฝึกสมาธิและ MBSR:

เลือกจากวิธีการบำบัดที่หลากหลาย:

เลือกใช้การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT):

ขอความช่วยเหลือจากแพทย์:

สรุป

ความเครียด และความวิตกกังวลเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีผลข้างเคียงต่อบุคคลทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมหลายอย่าง

ภาวะเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นหากปล่อยให้มีภาวะรุนแรง ดังนั้น การแทรกแซงอย่างทันท่วงที และการเอาใจใส่อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันไม่ให้ปัญหาเติบโตต่อไปจากระยะที่ไม่รุนแรง

แม้ว่าจะมีเทคนิคการจัดการอยู่หลายทางเลือกที่เราสามารถนำไปปฏิบัติได้ แต่ภาวะเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องน่าละอายที่คุณจะทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากรู้สึกว่ามีความจำเป็น สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ เราจะไปพบแพทย์หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น สุขภาพจิตก็มีความสำคัญไม่แพ้กันกับร่างกายเพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุข และมีความสมดุล

ดังนั้น ควรทำความรู้จักกับตัวการก่อให้เกิดความเครียด ฝึกฝนเทคนิคการจัดการความเครียด/ความวิตกกังวล เปิดเผยเกี่ยวกับปัญหาของคุณแทนที่จะปิดบัง และไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากมีความจำเป็น

ท้ายที่สุดแล้ว จิตใจที่ปราศจากความเครียด และความวิตกกังวล คือ กุญแจสู่ชีวิตที่มีความสุข

คุณมีความรู้สึกผิดปกติหรือไม่ คุณไม่มีสมาธิ และรู้สึกว่าทำงานง่าย ๆ ได้ยากขึ้นหรือไม่ คุณไม่ได้ป่วย แต่คุณรู้สึกเหนื่อย เบื่อ และเศร้าโดยไม่มีสาเหตุหรือไม่ ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานเข้ามารบกวนจิตใจของคุณมากเกินไปหรือไม่ คุณร้องไห้เมื่อมีใครบางคนชี้ให้เห็นความผิดพลาดโง่ ๆ ของคุณหรือไม่

หากคุณตอบว่าใช่ คุณอาจกำลังทุกข์ทรมานจากสิ่งที่เรียกว่าความเครียดทางอารมณ์! ความเครียดทางอารมณ์อาจฟังดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณ แต่พวกเราเกือบทุกคนเผชิญอยู่กับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันสูง และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความวุ่นวาย

ความเครียด และสุขภาพ

ร่างกายมนุษย์สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ ความเครียดเป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกายที่ตอบสนองต่อแต่ละสถานการณ์ ร่างกายมนุษย์จำเป็นจะต้องตอบสนองต่อความเครียด เมื่อเราประสบกับการเปลี่ยนแปลง หรือความท้าทายต่าง ๆ ร่างกายของเราจะเกิดการตอบสนองต่อทางร่างกาย และจิตใจ นี่คือตัวอย่างของการตอบสนองต่อความเครียด

ความเครียดช่วยทำให้เราสามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น คุณอาจเครียดก่อนนำเสนองานสำคัญในที่ทำงาน และอดหลับอดนอนเพื่อทำให้งานที่จะนำเสนองานแทบจะมีความสมบูรณ์แบบ

ความเครียดบางอย่างเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเรา แต่ความเครียดเรื้อรังนั้นเป็นอันตราย และอาจส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของคุณได้ ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อเราได้หลายอย่าง ความเครียดสามารถทำให้ร่างกายแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาได้ เช่น ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง ปัญหาการย่อยอาหาร เป็นต้น

ในทำนองเดียวกัน ความเครียดสามารถก่อให้เกิดอาการทางจิต และอารมณ์ได้ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เศร้า และตื่นตระหนก ผู้ที่มีความเครียดเป็นเวลานานมักหันไปพึ่งพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่จัด การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด หรือการรับประทานอาหารมากเกินไป สัญญาณของความเครียดอาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างง่ายดาย

ความเครียดทางอารมณ์ - คุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของคุณได้ใช่หรือไม่

เราต้องพบเจอกัยอารมณ์ต่าง ๆ มากมายในชีวิตในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ ความรู้สึกสุข เศร้า โกรธ หงุดหงิด และกังวล เป็นส่วนหนึ่งในอารมณ์ของเรา แต่เมื่อคุณมีความเครียด มันจะทำให้คุณประสบกับความเครียดทางอารมณ์ แต่อารมณ์เหล่านี้จะดีขึ้น ความเครียดทางอารมณ์อาจรบกวนความสามารถของคุณในการทำสิ่งต่าง ๆ และทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้น

การค้นหาสาเหตุของความเครียดทางอารมณ์ - กำลังเกิดอะไรขึ้นกับคุณ

ปกติแล้ว ความเครียดทางอารมณ์ หรือความเครียดอาจไม่มีใครสังเกตเห็นได้เนื่องจากอาการของมันอาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ หลายครั้งผู้ที่มีความเครียดอาจ มองข้ามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และกำลังคิดว่าตนเองจะมีอายุขัยสั้น และอาการเหล่านี้อาจกลับมาเป็นซ้ำ และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หากไม่มีการดูแล

การค้นหาสาเหตุของความเครียดทางอารมณ์อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับแพทย์ของคุณได้เช่นกัน คุณต้องพิจารณาว่าคุณรู้สึกอย่างไร หากบางครั้ง คุณพบว่าตัวเองกำลังโกรธ เศร้า หรือวิตกกังวล คุณต้องขอความช่วยเหลือ คุณสามารถจดบันทึกลงในสมุดเพื่อบันทึกว่าคุณมีอารมณ์แปรปรวนกี่ครั้งในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นอาการของความเครียดทางอารมณ์ทั่ว ๆ ไปซึ่งคล้ายกับอาการเครียด และวิตกกังวล:

อาการทางจิต หรือพฤติกรรมที่แปลกประหลาดของความเครียดทางอารมณ์ ได้แก่

10 วิธีเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์

วิธีเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์มีอยู่มีหลาย วิธีเหล่านี้คล้ายกับวิธีการที่ใช้ในการจัดการกับความเครียดของแต่ละคน

ต่อไปนี้เป็นวิธีเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์ 10 วิธีซึ่งจะสามารถช่วยคุณขจัดความกังวลของคุณได้:

1. การเจริญสติ

การเจริญสติ คือ การเรียนรู้วิธีที่จะมุ่งความสนใจ และรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น คุณต้องฝึกฝนการเจริญสติในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ สะดวกสบาย และอยู่ไกลจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ คุณสามารถเรียนรู้ที่จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นตามอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของคุณ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย และจิตใจนี้เป็นขั้นตอนแรกในการควบคุมอารมณ์ของคุณ และเรียนรู้วิธีเพื่อจัดการกับความเครียดของคุณให้ดีขึ้นได้ การฝึกเจริญสติจะช่วยทำให้คุณเข้าใจได้ว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกเครียด และคุณจะรับมือกับความเครียดได้อย่างไร

2. ฝึกสมาธิ

หลายคนมักจะสับสนกับการทำสมาธิ และการเจริญสติ อย่างไรก็ตาม การเจริญสติทำให้คุณรู้ตัว และการทำสมาธิจะนำคุณไปสู่สภาวะจิตใจที่เย็นลง และสงบมากขึ้น

ทำสมาธิในสถานที่เงียบสงบ และลองฝึกหายใจเข้า-ออกเพื่อลดความเครียด เช่น การหายใจเข้าลึก ๆ คุณสามารถจัดการกับอารมณ์ และลดความเครียดทางอารมณ์ได้จากความคิดที่คุณเลือก เช่น ความคิดในเชิงบวก หรือความทรงจำที่อบอุ่น และทำให้คุณรู้สึกสบายใจ

3. อ่านหนังสือ

ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าเวลาที่ 'ฉัน' รู้สึกผ่อนคลาย และสงบสุข บนโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วใบนี้ เรามักจะพลาดช่วงเวลาแห่งความสงบสุขไป และการอ่านก็อาจเป็นการเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุด

การอ่านหนังสือเป็นการกระตุ้นความคิดของเราได้อย่างเต็มที่ และจุดประกายให้เกิดจินตนาการ เนื่องจากสมองกำลังจดจ่ออยู่กับงานเพียงอย่างเดียวจึงช่วยลดความเครียด และส่งเสริมให้เกิดการผ่อนคลาย คุณอ่านหนังสือเล่มโปรดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ไปหยิบหนังสือเล่มนั้นสิ!

4. ออกไปเดินเล่น

การเดินช่วยให้คุณหลีกหนีจากเหตุการณ์ตึงเครียดไม่เพียงแค่ทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงจิตใจด้วย การเดินช่วยให้คุณคิด และประเมินตัวเองได้ หรือคุณอาจจะมีเพื่อนออกไปเดินเล่นกับคุณด้วยก็ได้เพื่อทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลิน

การเดินช่วยปลดปล่อยสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารช่วยกระตุ้นการผ่อนคลาย และทำให้อารมณ์ดีขึ้น

5. การออกกำลัง

คุณสามารถออกกำลังกายรูปแบบใดก็ได้ที่ดีต่อการคลายความเครียดของคุณ การออกกำลังกายทำให้สุขภาพโดยรวมของขึ้นดีขึ้น และทำให้คุณรู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ของคุณดีขึ้น เมื่อร่างกายของคุณมีการเคลื่อนไหว สมองจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินที่ทำให้คุณ รู้สึกดี และผ่อนคลายมันช่วยกำจัดความคิดในเชิงลบ และช่วยให้คุณมีสมาธิกับการออกกำลังกายที่คุณกำลังทำอยู่

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเอง ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และลดอาการซึมเศร้า และความวิตกกังวลได้เล็กน้อย การออกกำลังกายยังสามารถช่วยทำให้ปัญหาการนอนหลับซึ่งมักเกิดขึ้นจากความเครียดดีขึ้นได้

6. เต้นรำในสไตล์ของคุณ

การเต้นรำเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถ แสดงอารมณ์ออกมาได้ เมื่อคนเราเต้นรำ สมอง ร่างกาย และจิตใจทำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์ระหว่างดนตรี และการเคลื่อนไหว

การเต้นรำกับเพลงโปรด และเพลิดเพลินไปกับเพลงจะช่วยทำให้แต่ละคนมีสมาธิจดจ่อกับช่วงเวลาที่พวกเขากำลังเต้นรำอยู่ สิ่งนี้ช่วยในการควบคุมการปลดปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอลจากสมองซึ่งช่วยลดความเครียด และระดับความตึงเครียดได้

7. ฝึกโยคะ

โยคะเป็นการฝึกฝนร่างกาย และจิตใจด้วยการผสมผสานท่าทางของร่างกาย การควบคุมการหายใจ และการทำสมาธิ หรือการผ่อนคลายเข้าด้วยกัน โยคะ สามารถช่วยลดความเครียดลดความดันโลหิต และลดอัตราการเต้นของหัวใจได้

หะฐะโยคะสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการจัดการความเครียดได้โดยเฉพาะ หะฐะเป็นรูปแบบหนึ่งของโยคะที่พบได้บ่อยที่สุด และผู้เริ่มต้นอาจชอบจังหวะที่ช้าลง และการเคลื่อนไหวที่ง่ายมากกว่า โยคะสามารถทำให้คุณอารมณ์ดี และเพิ่มความรู้สึกของการเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของคุณได้

8. ฟังเพลง

เพลงที่มีจังหวะสนุกสนานสามารถทำให้คุณรู้สึกมีพลัง และคิดเกี่ยวกับชีวิตในเชิงบวกได้มากขึ้น ท่วงทำนองที่ช้าลงจะทำให้จิตใจของคุณสงบ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อซึ่งทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายในขณะเดียวกันก็คลายความเครียดในแต่ละวันของคุณได้

9. เพลิดเพลินไปกับการอาบน้ำที่ผ่อนคลาย

ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหดตัว การอาบน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายสามารถช่วยคุณได้ ผิวของเราจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมาเพื่อตอบสนองต่อน้ำอุ่น

การยืดกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวในน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกบนกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกต่ำอีกด้วย ศูนย์สุขภาพหลายแห่งในไนจีเรียให้บริการอาบน้ำเพื่อสร้างการผ่อนคลาย

10. จุดเทียนหอม

เทียนหอมถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ มานานหลายศตวรรษเนื่องจากมันช่วยส่งเสริมการบำบัด เพิ่มสมาธิ และชำระล้างพลัง

คุณภาพของแสงที่อ่อนโยน และน่าหลงใหลทำให้เป็นตัวช่วยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกิจวัตรในการพักผ่อน กลิ่นของเทียนหอมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นสมองของเราให้คลายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใสขึ้น

สรุป

ความเครียดไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเราโดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ และความเครียดอาจส่งผลต่ออารมณ์ของเรา และทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ได้ ความเครียดทางอารมณ์อาจทำให้คุณไม่มีสมาธิ และจัดการงานง่าย ๆ ประจำวันทำได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ความเครียดยังสามารถทำให้คุณกลายเป็นคนขี้ลืมได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อจัดการกับความเครียดทางอารมณ์นี้ได้

ขั้นตอนเหล่านี้คล้ายกันกับขั้นตอนในการจัดการกับความเครียดทุกประเภท คุณต้องมีความอดทน และเริ่มปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในกิจวัตรประจำวันของคุณ การจดบันทึกอาการของคุณ และพูดคุยกับแพทย์เพื่อปลดปล่อยมากขึ้นเป็นวิธีที่ดี

ในทางกลับกัน คุณสามารถเริ่มฝึกทำสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น การทำสมาธิ การเจริญสติ อ่านหนังสือ ฟังเพลง และออกกำลังกายเพื่อให้คุณเริ่มมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของการตอบสนองต่อความเครียดทางอารมณ์ของคุณ

โปรดทำจิตใจให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ก้าวผ่านความเครียดทางอารมณ์ไปได้