admin

Updated on พฤษภาคม 17, 2023

ความเครียดเรื้อรัง: ส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันอย่างไร

admin

Updated on พฤษภาคม 17, 2023

ความเครียดเรื้อรัง: ส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันอย่างไร

ประเด็นที่สำคัญ

  • ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของมนุษย์ที่มีต่อความท้าทาย รวมทั้งยังเป้นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
  • ความเครียดที่มีระยะเวลานานกว่าหนึ่งเดือนเป็นสัญญาณของความเครียดเรื้อรัง
  • ร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณอาจได้รับผลกระทบจากความเครียด
  • ความเครียดเป็นอุปสรรคใน ชีวิตประจำวันของเรา ส่งผลกระทบต่อเราในรูปแบบต่าง ๆ
  • กลยุทธ์ในการจัดการกับความเครียด อาจสามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้

วันหนึ่งในออฟฟิศ รุ่นพี่ของคุณอาจให้คุณส่งไฟล์โครงการซึ่งทำให้คุณอาจรู้สึกประหม่า หมดกำลังใจ สับสน และวิตกกังวลเพราะคุณจะทำงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

นี่คือการตอบสนองของร่างกายคุณต่อสถานการณ์นี้ ใช่ มันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณรู้สึกแบบนี้บ่อย ๆ สักระยะหนึ่งล่ะ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ ความเครียดเรื้อรัง.

มาให้เราช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าความเครียดคืออะไร และความเครียดจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร

ความเครียดคืออะไร

ความเครียดเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนเผชิญอยู่ ร่างกายมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้ได้รับประสบการณ์ และตอบสนองต่อความเครียด เมื่อคุณเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง หรือความท้าทาย ร่างกายของคุณจะตอบสนองทั้งทางร่างกาย และจิตใจ นั่นเรียกว่าความเครียด

ความเครียดในเชิงบวก สมมติว่าคุณมีการสอบที่กำลังจะมาถึง การตอบสนองต่อความเครียดในเชิงบวกอาจช่วยทำให้จิตใจ และร่างกายของคุณทำงานหนักขึ้น และตื่นตัวสำหรับอ่านหนังสือในช่วงดึก แต่ความเครียดนี้จะกลายเป็นปัญหาเมื่อคุณเริ่มเครียดกับทุกสถานการณ์ในทางลบ

ความเครียดเรื้อรังคืออะไร

ผลกระทบต่อร่างกาย จากความเครียดมักจะคงอยู่ไม่นาน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการเครียดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือยาวนานกว่านั้น นี่คือความเครียดเรื้อรัง

สมมติว่าบุคคลหนึ่งตกงานด้วยเหตุผลบางอย่าง หลังจากนั้น เขาเริ่มเครียดเรื่องการเงิน ครอบครัว และทุกด้านของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเงิน การคิดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาในตอนนี้สามารถทำให้เขาเครียดมากเกี่ยวกับสภาพการเงินนี้ได้

แทนที่จะหางานใหม่หรือสมัครงานใหม่ทำ เขากลับคิดมากกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเครียดมากเกินไป สิ่งนี้จะส่งผลต่ออารมณ์ และสภาพร่างกายโดยรวม และสุขภาพจิตของเขา นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบ้าน เพราะเขาอาจเก็บตัวอยู่ในบ้านด้วยความเสียใจ และไม่พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณในขณะที่คุณมีความเครียด?

ร่างกายของคุณมีระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS) ซึ่งเป็นระบบควบคุมเซลล์ประสาทในสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และอื่น ๆ เป็นระบบตอบสนองต่อความเครียดที่ถูกสร้างขึ้นมาในร่างกายเอง การตอบสนองด้วย "การต่อสู้ หรือการต่อต้าน" ช่วยทำให้ร่างกายของคุณเผชิญกับสภาวะที่ตึงเครียด

จิตใจของเราตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้อย่างชาญฉลาด คุณต้องฝึกตอบสนองต่อความเครียด

อาการทั่วไปของความเครียด

ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกาย และชีวิตประจำวันของคุณได้ในรูปแบบต่าง ๆ ความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกของคุณจะถูกรบกวนเนื่องจากความเครียด

ความเครียดที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจก่อให้เกิดโรคทางอ้อม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน

ความเครียดอาจส่งผลต่อ 3 อย่างดังต่อไปนี้:

1. ร่างกายของคุณ

ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้า ปวดท้อง ตื่นตระหนก อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ กล้ามเนื้อตึง ปวดไหล่ แรงขับทางเพศเปลี่ยน สั่น และตัวสั่น และปัญหาการนอนหลับเป็นผลทั่วไปของความเครียดในร่างกาย

2. อารมณ์ของคุณ

ความวิตกกังวล กระสับกระส่าย รู้สึกหนักใจ หงุดหงิด หรือโกรธ เศร้าหรือหดหู่ใจสุดขีด ขาดแรงจูงใจในการทำงาน กระวนกระวายใจ หวาดกลัวตลอดเวลาที่จะสูญเสียคนที่รัก หรือบางครั้งความคิดฆ่าตัวตายเป็นผลของความเครียดต่ออารมณ์ของคุณ

3. พฤติกรรมของคุณ

ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังมักทำผิดพลาดขณะจัดการกับความเครียด พวกเขาพยายามจัดการกับความเครียดด้วยพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป การไม่ สนใจในกิจกรรมต่าง ๆการอยู่บนโซเชียลมีเดีย และการช้อปปิ้งตลอดเวลา การระเบิดความโกรธ การพนัน การใช้ยา หรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด การสูบบุหรี่ การถอนตัวจากสังคม และการขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย

วิธีการวินิจฉัยความเครียด

ความเครียดเป็นเรื่องส่วนตัว คุณไม่สามารถวัด หรือทดสอบด้วยชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ เฉพาะผู้ที่กำลังประสบกับความเครียดอยู่เท่านั้นที่จะสามารถระบุว่ากำลังมีความเครียดอยู่ ระบุความรุนแรงของความเศร้า และความเครียดได้

แพทย์ หรือนักบำบัดอาจใช้แบบสอบถามเพื่อทำความเข้าใจสภาพของผู้ป่วย และผลกระทบของความเครียดส่งผลต่อชีวิตของบุคคลนั้นอย่างไร

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียด

เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อเกิดภาวะตึงเครียด สมมติว่าคุณเห็นงูพิษในบ้านของคุณช่วงตอนเย็น

ไฮโปทาลามัสของคุณจะตั้งสัญญาณเตือนในร่างกายของคุณ สิ่งนี้อาจไปกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตที่ด้านบนของไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และอะดรีนาลีน

อะดรีนาลีนจะไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทันที และเพิ่มความดันโลหิตของคุณ คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนความเครียดหลักที่เพิ่มกลูโคสในเลือด เพิ่มความสามารถของสมองในการใช้กลูโคสนี้ และทำงานตามนั้น คอร์ติซอลจะไม่มีความจำเป็นสำหรับสถานการณ์ต่อสู้ หรือหนี มันเปลี่ยนการ ตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้ถูกระงับ และสื่อสารกับสมองเพื่อควบคุมอารมณ์ แรงจูงใจ และความกลัว

เมื่อระบบควบคุมความเครียดตามธรรมชาติทำงานผิดปกติ คุณอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น:

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ปัญหาในการย่อยอาหาร
  • ความวิตกกังวล

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้วิธีที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรับมือกับความเครียดในชีวิตของคุณ

ความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร

ผลของความเครียดต่อกิจวัตรประจำวัน

หากคุณเครียดไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม และเริ่มคิดมาก นั่นอาจนำไปสู่การนอนหลับไม่เพียงพอซึ่งส่งผลให้คุณนอนหลังไม่เพียงพอ และทำให้เช้าวันรุ่งขึ้นของคุณมีความวุ่นวาย

คุณไม่สามารถให้ความสนใจกับสมาชิกในครอบครัวของคุณ และคุณอาจรู้สึกสูญเสีย บางครั้งผู้คนอาจลืมว่าพวกเขาวางบางอย่างไว้บนเตา หรือมีงานสำคัญที่ต้องทำ ความเครียดอาจส่งผลต่อการรับรู้ และความจำของคุณ

ผลของความเครียดต่อสุขภาพร่างกาย

ในขณะที่มีความเครียด บางคนอาจมีนิสัยรับประทานอาหารมากเกินไป และบางคนอาจไม่รับประทานอาหารอะไรเลย นิสัยทั้งสองอย่างนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณ

การรับประทานอาหารมากเกินไปอาจทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจทำให้อ้วนได้ การรับประทานอาหารน้อยอาจทำให้มีน้ำหนักผอมจนเกินไป และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ความเครียด เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคอ้วน

ผลกระทบของความเครียดต่อชีวิตการทำงาน

ความเครียดอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ คุณอาจรู้สึกสูญเสียขณะทำงาน หรือในการประชุม คุณอาจรู้สึกไม่มีแรงกระตุ้นในขณะทำงาน คุณไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาได้ นั่นอาจทำให้เจ้านายของคุณรู้สึกผิดหวังได้

ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเครียด หรือความเครียดเรื้อรัง

ผลกระทบของความเครียดต่อชีวิตส่วนตัว

ผู้ที่มีความเครียดอาจรู้สึกหลงทางในความคิดจนรู้สึกโดดเดี่ยว การคิดอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ไม่สนใจทำกิจกรรมใด ๆ และขัดขวางความคิด หรือความคิดใหม่ ๆ

พวกเขารู้สึกคิดลบ และจมอยู่กับความเศร้า สิ่งนี้อาจขัดขวางการเติบโตส่วนบุคคลของคุณ และเปลี่ยนบุคลิกภาพของคุณ

ผลของความเครียดต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว และเพื่อนฝูง

หากคุณรู้สึกเศร้า และเครียดจนไม่สามารถพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหามากมาย คุณอาจจะหงุดหงิด และโกรธคนที่คุณรัก

ในทางกลับกัน สมาชิกในครอบครัวของคุณอาจเครียดเกี่ยวกับคุณ

เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสภาวะเครียด

เหตุการณ์ที่ตึงเครียด คือ ความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต คุณไม่สามารถเปลี่ยนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่คุณสามารถใช้ขั้นตอนที่ดีในการจัดการสุขภาพจิตของคุณได้ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้

คุณต้องระบุเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และกำหนดกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นโดยการรักษาสุขภาพทางร่างกาย และ อารมณ์ ให้ดี.

กลยุทธ์ในการจัดการกับความเครียด

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เต้นซุมบ้า และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • โยคะ การหายใจเข้าลึก ๆ การนวด หรือการทำสมาธิล้วนเป็นตัวอย่างของเทคนิคช่วยในการผ่อนคลาย
  • จดบันทึก และเขียนความคิด หรือสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณในชีวิต
  • ควรให้ความสำคัญกับงานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือดูรายการโปรด หรือภาพยนตร์เรื่องโปรด
  • พัฒนามิตรภาพที่ดีต่อสุขภาพ สื่อสารกับเพื่อน และครอบครัว
  • มีอารมณ์ขัน รวมถึงมองหาวิธีที่จะนำอารมณ์ขัน และเสียงหัวเราะเข้ามาในชีวิต เช่น ดูหนังตลก หรือเข้าเว็บไซต์ตลก
  • มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน
  • จัดระเบียบ และจัดลำดับความสำคัญให้กับสิ่งที่คุณต้องทำที่บ้าน และที่ทำงาน รวมถึงกำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป
  • การขอคำปรึกษาจากมืออาชีพสามารถช่วยคุณพัฒนาเฉพาะด้านได้ กลยุทธ์การเผชิญปัญหา

สรุป

ความเครียดเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายของคุณ แต่ความเครียดเป็นเวลานาน คือ สภาวะของโรคที่ส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณ

แพทย์ของคุณอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อวินิจฉัยอาการของคุณ ความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ประสิทธิภาพการทำงาน สุขภาพร่างกาย ชีวิตส่วนตัว และครอบครัว

ฝึกโยคะ ทำสมาธิ และฝึกการหายใจเป็นประจำเพื่อลด ผลกระทบจากการคลายความเครียดดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างเหมือนกัน อย่าลังเลที่จะพูดคุย หรือเข้าพบแพทย์

Related Posts

ต่อสู้กับการอักเสบด้วยอาหารที่เหมาะสม
18th พ.ค.

ต่อสู้กับการอักเสบด้วยอาหารที่เหมาะสม

Read More
Stress & Anxiety: Are They Different?
17th พ.ค.

ความเครียด กับความวิตกกังวล: แตกต่างกันหรือไม่?

Read More
ทำไมไมโครไบโอม (Microbiome) ในลำไส้จึงมีความสำคัญต่อการย่อยอาหาร
18th พ.ค.

ทำไมไมโครไบโอม (Microbiome) ในลำไส้จึงมีความสำคัญต่อการย่อยอาหาร

Read More