วิธีช่วยให้ลูกน้อยหัดเดิน
ประเด็นที่สำคัญ
- การออกกำลังกายของทารกนำไปสู่การพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจของทารก
- การวิ่ง กระโดด เดิน และคลานของทารกสามารถทำกิจกรรมตามการเจริญเติบโต และความสามารถของทารกได้
- เวลาที่ทารกนอนคว่ำ และนั่งตัวตรงจะเป็นการฝึกฝนหลัก ๆ ที่เสริมสร้างความแข็งแรงของแกนกลางของลำตัว
- การเคลื่อนไหวเหมือนกับการถีบจักรยานจะสามารถช่วยลดแก๊ส และมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของขาของทารก
- การลูบที่บริเวณหน้าท้อง และการเรอจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากลมในท้องได้
พ่อแม่ของทารกแรกเกิดมักจะทำทุกอย่างในการควบคุมของพวกเขาเพื่อให้ลูกน้อยของพวกเขามีสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดในการเติบโต พวกเราต้องการให้ ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง และมีจิตใจที่แข็งแรง รวมถึง ต้องการให้ลูกน้อยสามารถเรียนรู้ และเข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว ที่สุด
คุณพ่อ คุณแม่สามารถคำนึงถึงวิธีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยหัดเดินได้ พวกเขาต้องการให้ทารกเดิน พูด และเคลื่อนไหวร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และในการทำเช่นนั้น กิจกรรมทางกายมีบทบาทสำคัญมากไม่เพียงแต่ในการพัฒนาทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยในด้านพัฒนาการทางจิตใจของทารกด้วย วิธีช่วยให้ลูกน้อยหัดเดินเป็นงานหนักสำหรับพ่อแม่ มีวิธีในการช่วยให้ทารกหัดเดินอยู่หลายวิธี อ่านต่อเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
วิธีช่วยให้ลูกน้อยหัดเดินเป็นงานหนักสำหรับพ่อแม่ มีวิธีในการช่วยให้ทารกหัดเดินอยู่หลายวิธี อ่านต่อเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับเด็ก
ทารกเกิดมาพร้อมกับกล้ามเนื้อ และกระดูกที่อ่อนแอ ในช่วงปีแรก ๆ เป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณต้องช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อให้กับทารก กุมารแพทย์ระบุว่าผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยให้ทารกสร้างความยืดหยุ่น การประสานงาน และความแข็งแรงด้วยกิจวัตร และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของทารก สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถเดินได้เร็วขึ้น และมีความมั่นใจมากขึ้น
การออกกำลังกายเป็นประจำอาจช่วยลูกของคุณได้มากกว่าการมีรูปร่างสมส่วน และต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ เด็กที่มีทักษะการเคลื่อนไหวดีกว่ามักจะมีความกระตือรือร้นมากกว่า การออกกำลังกายทุกวันมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่ดีของทารก และเด็กเล็ก
กล้ามเนื้อ และกระดูกที่แข็งแรงเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมของเด็กได้ หากทารกมีกล้ามเนื้อ และกระดูกที่แข็งแรง ทารกจะมีโอกาสเรียนรู้ที่จะคลาน เดิน และวิ่งได้เร็วขึ้น
คุณอาจรู้สึกสงสัยเกี่ยวกับเคล็ดลับในการช่วยลูกน้อย หรือเด็กวัยหัดเดินฝึกเดิน หรือวิธีสอนลูกน้อยให้เดิน ส่วนต่อไปของบทความนี้จะมีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
การออกกำลังกายสำหรับเด็กแรกเกิด และทารก (0-12 เดือน)
ควรกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน และทุกวันในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการฝึกคลานด้วย
หากพวกเขายังคลานไม่ได้ ให้กระตุ้นให้พวกเขาเคลื่อนไหวร่างกายโดยการเอื้อม และจับ ดึง ดันตัว และขยับศีรษะ ลำตัว และแขนขาในระหว่างกิจวัตรประจำวัน และระหว่างการเล่นบนพื้นแต่ต้องมีผู้ดูแล
พยายามฝึกให้นอนคว่ำอย่างน้อย 30 นาทีตลอดทั้งวันเมื่อพวกเขาตื่น เมื่อทารกสามารถเดินไปรอบ ๆ ได้ ให้กระตุ้นให้พวกเขาเคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในสภาพแวดล้อมการเล่นที่ปลอดภัย และได้รับการดูแล
ฝึกเด็กวัยหัดเดินให้เริ่มเดิน (12–36 เดือน)
เด็กวัยหัดเดินควรเคลื่อนไหวร่างกายทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 180 นาที (สามชั่วโมง) ยิ่งเคลื่อนไหวร่างกายได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี ควรให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายกระจายไปตลอดทั้งวัน รวมไปถึงการให้ออกไปเล่นนอกบ้าน
180 นาทีสามารถฝึกกิจกรรมเบา ๆ เช่น ยืนขึ้น เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ กลิ้ง และเล่น รวมไปถึงกิจกรรมที่ใช้พลังมากขึ้น เช่น การกระโดดเร็ว ๆ กระโดดไม่สูง วิ่ง และกระโดดสูง
การเลนอย่างต่อเนื่อง เช่น การปีนป่ายขึ้นบนโครงสร้าง การเล่นในน้ำ เกมวิ่งไล่จับ และเกมบอล เป็นวิธีฝึกฝนการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดของเด็กวัยนี้
การฝึกฝนเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับแกนกลางลำตัวของทารก
ฝึกให้เด็กนอนคว่ำ
อายุ:0 เดือนเป็นต้นไป
นี่เป็นการฝึกฝนที่กุมารแพทย์แนะนำมากที่สุดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของลำตัวให้กับทารก เพียงแค่ให้ทารกแรกเกิดนอนคว่ำหลังจากที่คุณป้อนนมทุกครั้ง ท่านี้ช่วยสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางส่วนท้องของทารกให้แข็งแรงได้ วิธีเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแกนกลางมีหลายรูปแบบ เช่น:
- วางลูกน้อยของคุณไว้บนผ้าห่มเพื่อให้เด็กใช้เวลานอนคว่ำบนพื้น และสำรวจสิ่งรอบ ๆ ตัวของเด็ก
- วางลูกน้อยของคุณบนท้อง และระหว่างเข่าของคุณ นอกจากนี้ ท่านี้ยังช่วยทำให้ทารกปล่อยก๊าซที่อยู่ในท้องได้อีกด้วย
- วางลูกน้อยของคุณบนท้องของคุณพ่อ! นี่เป็นช่วงเวลาแห่งความสนุก และมีประโยชน์มากซึ่งคุณสามารถทำได้หลังจากที่คุณป้อนนมลูก หรือในตอนเย็นก่อนลูกน้อยเข้านอน นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างคุณพพ่อกับลูกน้อยได้อีกด้วย
เคล็ดลับ:อย่าลืมว่าท่านอนคว่ำจะช่วยเพิ่มการควบคุมศีรษะและความแข็งแรงของคอให้กับลูกน้อยของคุณได้
ดังนั้น ควรลดเวลาของการนอนท่าหงายให้น้อยที่สุดหลังจากที่ลูกน้อยของคุณอายุได้ 2-3 เดือน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณได้ทำกิจกรรมฝึกฝนร่างกายเพียงพอ
ช่วยให้ลูกน้อยนั่งตัวตรง
อายุ:4 เดือน (หรือเมื่อทารกสามารถตั้งลำคอให้ตรงได้แล้ว)
วางผ้าห่มไว้บนเตียงแล้ววางลูกน้อยไว้บนผ้าห่ม จากนั้นให้ถือผ้าห่มแต่ละข้างไว้เหนือศีรษะของลูกเล็กน้อย โดยให้ลูกน้อยอยู่ตรงกึ่งกลางแขนของคุณ ค่อย ๆ ยกผ้าห่มขึ้นเพื่อให้ลูกน้อยของคุณอยู่ในท่านั่ง จากนั้นลดระดับของผ้าห่มลงอีกครั้ง นี่เป็นการออกกำลังกายที่ง่าย และปลอดภัยเพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีร่างกายส่วนบนที่แข็งแรง
ฝึกฝนลูกน้อยของคุณด้วยวิธีดังต่อไปนี้:
- การออกกำลังกายส่วนแกนกลางลำตัวนี้ช่วยให้ทารกเริ่มคลาน ยืน และเดินได้
- วางลูกน้อยของคุณลง และปล่อยให้ลูกของคุณดึงตัวเองขึ้น จากนั้นวางลูกน้อยลง
- ปล่อยให้ลูกน้อยของคุณเป็นผู้นำคุณออกกำลังกายนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแกนกลางลำตัวของเด็ก
- หลังจากทำการฝึกฝนนี้แล้ว ลูกน้อยจะสามารถลุกขึ้นนั่งได้เองมากขึ้น.
- การออกกำลังกายทุกวันยังช่วยให้ทารกนอนหลับได้ดีขึ้น และมีความสุขได้ตลอดวัน!
การออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น
1. การเคลื่อนไหวในท่าถีบจักรยาน
อายุ:0 เดือนเป็นต้นไป
การพัฒนาขาของลูกน้อยก็เป็นปัญหาสำคัญเช่นกันเนื่องจากกล้ามเนื้อขาเป็นตัวกำหนดว่าลูกน้อยของคุณจะสามารถคลาน และเดินได้เร็วแค่ไหน กุมารแพทย์แนะนำการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับขาของทารกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อขาของทารกดังต่อไปนี้:
วางทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย แล้วจับที่ข้อเท้าเบา ๆ ค่อย ๆ ขยับขาของลูกน้อยให้เหมือนกำลังถีบจักรยาน คุณสามารถเคลื่อนไหวได้สี่ถึงห้าครั้งต่อเซ็ต จากนั้นให้ลูกน้อยของคุณพักสักสองสามนาทีแล้วฝึกเคลื่อนไหวต่อ
คุณรู้หรือไม่? ท่าถีบจักรยานเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาอาการท้องอืดของลูกน้อยได้! กุมารแพทย์กล่าวว่าเมื่อลูกน้อยของคุณกำลังฝึกฝนในท่าถีบจักรยาน การเคลื่อนไหวจะช่วยปล่อยฟองอากาศออกจากท้อง และเคลื่อนผ่านลำไส้ ด้วยวิธีนี้ ลูกน้อยของคุณสามารถปล่อยฟองอากาศเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และไม่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากลมในท้อง
ควรทำการฝึกท่านี้เมื่อไหร่? ตรวจดูว่าท้องของลูกน้อยรู้สึกแข็ง และป่องหรือไม่ ลูกน้อยอาจจะมีลมในท้อง และการออกกำลังกายนี้จะทำให้ลูกน้อยของคุณรู้สึกผ่อนคลายได้
หากลูกน้อยของคุณต่อต้าน และไม่ต้องการให้คุณขยับขา โปรดอย่าบังคับให้ลูกน้อยฝึกท่านี้
2. ทำเหมือนกำลังเต้นรำ!
อายุ:0 เดือนเป็นต้นไป
ทารกชอบที่จะขยับไปมา และชูนิ้วเท้าขึ้น ตามคำแนะนำของแพทย์ การเคลื่อนไหวของนิ้วเท้า และเท้าเป็นการฝึกฝนที่ยอดเยี่ยมสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อขาของทารก
เพียงอุ้มลูกน้อยของคุณเบา ๆ ใต้รักแร้ แล้วแตะเท้าของลูกน้อยลงบนพื้น เนื่องจากตอนนี้คุณกำลังรองรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของลูกน้อยเอาไว้ ดังนั้น คุณควรปล่อยให้ลูกน้อยของคุณทรงตัวอยู่บนพื้นเบา ๆ คุณจะสังเกตได้ว่าลูกน้อยของคุณมักจะเตะซึ่งจดูเหมือนกับกำลังเต้น
หมายเหตุ: คุณควรแน่ใจว่าคุณรองรับน้ำหนักของลูกน้อยให้มากขึ้นเนื่องจากตอนนี้พวกเขาพบว่าการยืนขึ้นเป็นเรื่องยากมาก ไม่แนะนำให้ฝึกฝนท่านี้เป็นเวลานานเนื่องจากลูกน้อยของคุณจะรู้สึกเหนื่อย
3. ช่วยลูกน้อยของคุณหยิบ/ยกสิ่งของ
อายุ: 4–6 เดือน
แพทย์แนะนำว่าการหยิบจับสิ่งของเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความสามารถในการหยิบจับ และการฝึกใช้มือ และตาของลูกน้อยร่วมกัน รวมไปถึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ให้ลูกน้อยของคุณนั่งบนเก้าอี้สูง หรือเก้าอี้นั่งแบบเด้งดึ๋ง ตอนนี้วางของเล่น หรือของใช้ในบ้านไว้ข้างหน้าลูกน้อยของคุณ กระตุ้นให้พวกเขาหยิบของเล่น หรือของใช้ในบ้านขึ้นมาเพื่อสำรวจ วางลง แล้วยกขึ้น (หรือหยิบวัตถุอื่น) อีกครั้ง คุณอาจต้องแสดงวิธีทำให้ลูกน้อยของคุณดู 2-3 ครั้ง เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้ได้เร็วมาก และสนุกกับการออกกำลังกายนี้มาก!
วิธีไล่ลมในท้องของทารก
หากลูกน้อยของคุณมีอาการเจ็บปวด นี่คือเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะช่วยให้ทารกรู้สึกดีขึ้น:
ขยับขาของลูกน้อย
หากลูกน้อยของคุณนอนหงาย ให้ค่อย ๆ ขยับขาไปมาเพื่อเลียนแบบท่าถีบจักรยาน การออกกำลังกายนี้ช่วยในการเคลื่อนไหวของลำไส้ และสามารถขับลมในท้องออกมาได้ คุณยังสามารถงอขาของลูกน้อย แล้วค่อย ๆ ดันเข่าขึ้นไปที่ท้อง หากลูกน้อยนอนคว่ำ คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายในท่าของเด็กได้ (เช่นเดียวกับการเล่นโยคะ) และการเคลื่อนไหวนั้นก็จะสามารถไล่ลมในท้องได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ลูบที่บริเวณหน้าท้องเบา ๆ
การนวดทารกเป็นวิธีที่พยาบาลใช้เพื่อช่วยไล่ลมออกจากท้องของทารกเพื่อลดความอึดอัดในท้อง วางลูกน้อยของคุณให้อยู่ในท่านอนหงาย จากนั้นเริ่มลูบท้องของลูกน้อยให้เป็นวงกลม การลูบท้องเป็นวงกลมช่วยทำให้กระตุ้นช่องท้องที่สามารถช่วยให้ลูกน้อยสามารถไล่ลมออกจากช่องท้องได้
การเรอของทารก
แน่นอนว่าวิธีในการไล่ลมที่ดีที่สุด คือ การเรอ บางครั้ง การเรอก็สามารถช่วยได้ ลูกน้อยของคุณอาจไม่เรอออกมาได้ทันที และในการช่วยทำให้ลูกน้อยเรอ ให้คุณวางลูกน้อยนอนลงสักสองสามนาที จากนั้นค่อย ๆ อุ้มขึ้นมาแล้วลองใหม่อีกครั้ง ให้เวลาลูกน้อยเรอสักพัก
การนวดทารก
การนวดลูกน้อยของคุณเป็นวิธีการเลี้ยงดู และใช้เวลากับลูกน้อยของคุณอย่างอ่อนโยน
การนวดเป็นเคล็ดลับที่เก่าแก่วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล ปัจจุบันประโยชน์ของการนวดน้ำมันได้รับการยอมรับอย่างดีจากแพทย์ และแน่นอนว่าสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกของลูกน้อยแข็งแรงขึ้นได้
คุณสามารถเริ่มนวดร่างกายลูกน้อยได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุหนึ่งสัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ มีการเคลื่อนไหว/การฝึกฝนบางวิธีที่คุณควรทำซึ่งมันเป็นส่วนหนึ่งของการนวดทารกเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับทารก คือ:
- จับข้อมือของลูกน้อย และยกตัวขึ้นจากโต๊ะนวด การฝึกฝนนี้ช่วยในการพัฒนากระดูกสันหลังส่วนคอ
- วางลูกน้อยไว้บนท้อง แยกเข่าออกจากกันแต่ให้เท้าชิดกัน กดเท้าของลูกน้อยด้วยนิ้วหัวแม่มือของคุณ ลูกน้อยของคุณจะพยายามผลักดันตัวเองไปข้างหน้า การออกกำลังกายนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนากล้ามเนื้อขา
- วางลูกน้อยไว้บนท้อง แยกเข่าออกจากกันแต่ให้เท้าชิดกัน กดเท้าของลูกน้อยด้วยนิ้วหัวแม่มือของคุณ ลูกน้อยของคุณจะพยายามผลักดันตัวเองไปข้างหน้า การออกกำลังกายนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนากล้ามเนื้อขา
หมายเหตุ:คุณต้องแน่ใจว่า คุณไม่ได้ใช้แรงกดลงอย่างแรง การนวดเบา ๆ โดยใช้เบบี้ออยล์ที่เป็นมิตรกับผิวเท่านั้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการไหลเวียนโลหิตของลูกน้อยของคุณที่ดีขึ้น และส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ของการนวดทารก
การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการนวดทารกมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การนวดทารกอาจช่วย:
- ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคุณกับลูกน้อย
- ช่วยให้ลูกน้อยของคุณรู้สึกผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดี
- ส่งผลดีต่อฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความเครียดของลูกน้อย
- ร้องไห้น้อยลง
การศึกษาบางชิ้นยังแนะนำว่าการนวดทารกด้วยการใช้แรงกดปานกลางอาจช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้
ฉันจะนวดลูกน้อยของฉันได้อย่างไร
จะต้องมีการเตรียมตัวสักเล็กน้อย และใช้เทคนิคเบื้องต้นบางอย่าง เรามาเริ่มกันเลย:
- สร้างบรรยากาศที่สงบ:ถ้าเป็นไปได้ ให้นวดลูกน้อยของคุณภายในสถานที่อบอุ่น และเงียบสงบ—ในร่ม หรือกลางแจ้ง นั่งสบาย ๆ บนพื้น หรือบนเตียง หรือยืนอยู่ด้านหน้าโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้ววางลูกน้อยไว้บนผ้าห่ม หรือผ้าขนหนูที่ด้านหน้าคุณ วางลูกน้อยของคุณในท่านอนหงายเพื่อให้คุณสามารถสบตากับลูกน้อยของคุณได้
- ควบคุมการสัมผัสของคุณ:เมื่อคุณเริ่มนวดลูกน้อยของคุณครั้งแรก ให้คุณสัมผัสลูกน้อยของคุณเบา ๆ หลีกเลี่ยงการจั๊กจี้ลูกน้อยของคุณ ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยของคุณหงุดหงิดได้ เมื่อลูกน้อยของคุณโตขึ้น ให้ใช้สัมผัสที่แรงมากขึ้น
- ลูบ และนวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารกอย่างช้า ๆ:คุณอาจเริ่มต้นด้วยการวางลูกน้อยของคุณไว้ในท่านอนคว่ำ และใช้เวลาหนึ่งนาทีในการลูบส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแต่ละส่วน เช่น ศีรษะ คอ ไหล่ หลังส่วนบน เอว ต้นขา เท้าของทารก และมือ ต่อจากนั้น ให้วางลูกน้อยของคุณไว้ในท่านอนหงาย และใช้เวลาแต่ละนาทีในการยืด งอแขน และขาของลูกน้อย และจากนั้นให้ขาทั้งสองข้างพร้อมกัน สุดท้าย ให้ลูกน้อยนอนในท่านอนหงาย หรือนอนคว่ำ แล้วลูบซ้ำอีกห้านาที
- ทำตัวให้ผ่อนคลาย:พูดคุยกับลูกน้อยของคุณไปตลอดการนวด คุณอาจร้องเพลง หรือเล่านิทานให้ลูกน้อยฟังก็ได้ ลองเรียกชื่อลูกน้อยของคุณ และพูดคำว่า 'ผ่อนคลาย' ซ้ำ ๆ ขณะที่คุณช่วยให้คลายความตึงเครียดให้กับลูกน้อย
- คอยเฝ้าดูว่าลูกน้อยของคุณตอบสนองอย่างไร: หากลูกน้อยของคุณกระตุกแขน และดูมีความสุข แสดงว่าลูกน้อยน่าจะสนุกกับการนวด และคุณก็สามารถทำการนวดต่อไปได้ หากลูกน้อยของคุณหันหน้าหนีคุณ หรือดูกระสับกระส่าย หรือดูไม่มีความสุข ให้คุณหยุดการนวดแล้วลองอีกครั้งในภายหลัง
คุณควรใช้น้ำมันนวดหรือไม่?
ผู้ปกครองบางคนชอบใช้น้ำมันระหว่างการนวดลูกน้อยเพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างมือกับผิวหนังของลูกน้อย
หากคุณเลือกใช้น้ำมัน ให้เลือกแบบที่ไม่มีกลิ่น และรับประทานได้ เผื่อว่าลูกน้อยของคุณอาจเอาน้ำมันเข้าปาก
หากลูกน้อยของคุณมีผิวที่บอบบางหรือแพ้ง่าย ให้ทดสอบน้ำมันก่อนโดยทาปริมาณเล็กน้อยบนผิวหนังของลูกน้อย แล้วดูปฏิกิริยา
อาจต้องใช้เวลาสักพักก่อนที่คุณ และลูกน้อยของคุณจะรู้สึกคุ้นเคยกับการนวด ให้มีความอดทน การฝึกนวดทารก เป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพเพื่อการผ่อนคลาย และสร้างความผูกพันระหว่างคุณ และลูกน้อยของคุณ
สรุป
สรุปว่า นี่คือวิธีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยหัดเดิน รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจของลูกน้อยได้อีกด้วย
แล้วตอนนี้คุณก็ได้ทราบวิธีช่วยให้ลูกน้อยหัดเดิน และวิธีทำให้ลูกน้อยเดินได้แล้ว คุณยังสามารถรวมการฝึกฝนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแกนกลางลำตัว การเคลื่อนไหวด้วยท่าถีบจักรยาน และการฝึกฝนที่ต้องทำเมื่อลูกน้อยมีปัญหาเรื่องลมในท้องแล้ว
นอกเหนือไปจากการออกกำลังกายด้วยวิธีเหล่านี้แล้ว คุณควรทำการนวดลูกน้อยของคุณทุกวัน